วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

การประยุกต์ใช้ km (Knowledge Management)


เครือซีเมนต์ไทย” KM เพื่อนวัตกรรม
      
       
เชาวลิต เอกบุตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเยื่อกระดาษสยาม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดการความรู้ของบริษัทมีการตั้งศูนย์ KM Center เพื่อให้บุคคลากรได้เก็บรวบรวมความรู้ไว้ในศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยเวลาที่บุคคลากรหน่วยงานอื่นประสบปัญหาเช่นเดียวกันสามารถนำมาใช้แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงแผนการทำธุรกิจในต่างประเทศไม่ว่าจะเป็นข้อมูลการบริหารงานด้านกฎหมายในเมืองต่างๆและการจัดการด้านต้นทุน ซึ่งผู้บริหารในองค์กรของเครือซีเมนต์ไทยสามารถเข้าไปศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้เพื่อเป็นแนวทางในการลงทุน
      
       
นอกจากนี้ มีการทำระบบ Eager to Learn โดยสร้างเว็บบอร์ดให้บุคลากรที่ออนไลน์อยู่สามารถแชทถามความรู้ในการปฏิบัติงาน ทำให้บุคลากรสามารถถ่ายทอดความรู้อย่างเข้าถึงในแต่ละองค์กรของเครือซีเมนต์ไทย รวมถึงการสร้างแรงจูงใจโดยการให้หนังสือภาษาอังกฤษกับพนักงานทุกคนเพื่อที่จะให้ไปอ่าน โดยทุกอาทิตย์จะมีการรวมกลุ่มย่อยเพื่อแสดงความคิดเห็นเนื้อหาในหนังสือ ซึ่งจะทำให้คนที่อ่านภาษาอังกฤษเป็นได้แชร์ความรู้กันระหว่างบุคคลและกระตุ้นให้บุคคลากรที่ไม่มีความสามารถพยายามอ่านภาษาอังกฤษมากขึ้นโดยจะมีของรางวัลให้กับผู้ที่ตอบคำถามได้ทุกอาทิตย์
      
       
กรรมการผู้จัดการใหญ่ เล่าว่า การจัดการความรู้ที่สำคัญต้องมี “แชมป์” ซึ่งเป็นผู้นำทางความรู้โดยจะเป็นผู้ที่ให้คำแนะนำการปฏิบัติงานที่ได้ผล แต่ต้องเป็นโดยความสมัครใจและเป็นบุคคลที่รู้เทคโนโลยีพร้อมทั้งมีความสามารถที่จะรวบรวมกลุ่มเพื่อการทำงานเป็นทีม รวมถึงการมอบหมายงานให้กับบุคลากรในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      
        “
คนที่เป็นแชมป์จะเป็นตัวกระตุ้นแรงบัลดาลใจของพนักงานในหน่วยงานให้อยากแชมป์บ้าง โดยแชมป์จะต้องแข่งขันกันเองเพื่อการปฏิบัติงานให้ได้ผลสูงสุด และจะรวบรวมผลงานความคิดการปฏิบัติงานที่ผ่านมาไว้ในศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์”
       
 จากที่ได้นำ KM  มาใช้ในองค์กรได้เป็นที่สรุปว่า
       
อย่างไรก็ตาม การทำงานที่ผ่านมาพบว่าวัฒนธรรมการทำงานที่เป็นอุปสรรค์ของคนไทยคือการจดบันทึกข้อมูลการทำงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหลายบริษัทในไทยที่ทำKM แล้วล้มเหลวเพราะลอกเลียนการบริงานของต่างชาติมาทั้งหมดแต่ไม่ประยุกต์การทำงานที่เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรไทย
      
       
ด้านจุดเด่นของการทำ KM ในไทยคือการมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นมิตรง่าย ซึ่งเป็นหนึ่งในการกระตุ้นการเรียนรู้ระหว่างบุคคลในหน่วยงาน รวมถึงอุปนิสัยที่พร้อมจะเปิดใจถ่ายทอดความรู้ระหว่างผู้สูงอายุกับคนรุ่นใหม่อยู่เสมอ
      
ชาวลิต ได้เสนอแนะว่า การที่คนไทยไม่มีการจัดการความรู้เป็นผลมาจากความกล้าๆกลัวๆเพราะอายที่จะแสดงความคิดเห็น หรือบางทีคนฟังความรู้แต่ปฏิบัติไม่ได้เพราะต้องไปบอกกับผู้บังคับบัญชาในกระบวนการบริหารงานเพื่อรอสั่งการ

http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=9434




จากรูปภาพที่ผ่านมา น่าจะมีตัว  S  อีกที่ตัวที่เกี่ยวกับ KM

          sensitive
adj.
ไวต่อความรู้สึก, อารมณ์อ่อนไหว
          sensible
adj.
มีเหตุผล, เฉลียวฉลาด, อ่อนไหว
         selective
adj.
พิถีพิถัน, คัดเลือก
          satisfy
v.
       ทำให้พอใจ, ทำให้แน่ใจ
 


       

 

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแสดงความคิดเห็นต่างๆ

1. ท่านคิดว่า Blog ในอนาคตสำหรับการจัดการความรู้ ควรจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเป็นรูปกราฟฟิก

          โดยส่วนใหญ่แล้ว Blog หลายๆที่มักจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และลึก เนื่องจากเจ้าของ Blog มักจะนำข้อมูลที่ตัวเองรู้ หรือประสบการณ์มาถ่ายทอด โดยค่อนข้างเป็นกันเอง
         การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ หรือการแชร์เป็นสิ่งที่ดีเพื่อที่ได้มีกระจายข้อมูลเหล่านั้นให้ผู้คนทั่วไปเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและมีการเผยแพร่ต่อไป แต่ใน  blogger ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้มีฟังก์ชั่นอะไรมากก็ต้องรอดูกันว่า ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงลูกเล่นหรือฟังก์ชั่นการใช้อย่างไรบ้าง



https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgHqvMu6dd7CrxVCtW3dKeMqIiSQwolD_pLri1P4_9RMfKMF0V4XtzzAxsGuSoem14Zhqf0BU_jnHSbjD2had-_e_PcsbmM3gXuAg_NKlWfC0pPrxIqs3opcCs8WWW2DTUN1EEqb8f0lms/s1600/100learn01.jpg



2. ท่านคิดว่า “การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ ใน KM มีความแตกต่างกันอย่างไร”


            การวิเคราะห์  (analysis)  หมายถึง  เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆเพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริงโดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้

         การสังเคราะห์ ( synthesis)  หมายถึง กระบวนการหรือผลของการนำเอาปัจจัยสองอย่างหรือมากกว่าที่แยกกันโดยเฉพาะความคิด นำมารวมกันเข้าเป็นหนึ่ง ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นเป็นความรู้ใหม่เครื่องมือใหม่ทางความคิด เช่น การรวมกันให้เป็นทฤษฎี หรือระบบการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เช่นไฮโดรเจนและออกซิเจน เป็นต้น


3. ท่านคิดว่า “นอกจาก เทคโนโลยี RSS ที่มาช่วยการสนับสนุนการจัดการความรู้แล้ว ในอนาคตควรจะมีอะไรเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น”

         เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี  และเทคโนโลยีบาร์โค้ด  จะเห็นว่า  ในระยะแรกการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้จะเป็นใสรูปแบบ  Dual Technology  กล่าวคือ  เป็นการนำสองเทคโนโลยีคือบาร์โค้ด  และอาร์เอฟไอดีมาใช้ควบคู่กัน ตามการศึกษาตารางด้านล่าง  จะเห็นว่า  ในช่วงแรกที่ทำการทดสอบ  และความคุ้มทุนยังคงใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีเพียงอย่างเดียว  แต่เมื่อนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาสู่ปฏิบัติจริง  จะเป็นการใช้สองเทคโนโลยี  แต่เมื่อเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีไปสู่การใช้จริง  ในช่วงแรกยังเป็นการใช้สองเทคโนโลยีควบคู่กันไป   จนเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีการพัฒนาในด้านต่าง  



4. ท่านคิดว่า “การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM จะสิ่งใดที่จะทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการดังกล่าว”

             หากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมีการจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน
             อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ความชำนาญแล้ว องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะไว้กับองค์กรอย่างมีระบบเพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาลามสูตร กับ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการศึกษา ?

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

จาก 10 หลักกาลามสูตรในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์บวกสติในการลงทุนทุกรูปแบบ จะทำให้หลายคนเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังเช่นต่อไปนี้ 

1.อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ซีอีโอบริษัทนี้ชิงหายหุ้นไปเมื่อเมื่อวานนี้แล้ว 
2.อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" หรือนักวิเคราะห์ว่ากันตามกระแส 
3.อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่ากันว่า ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลายในห้องค้าหลักทรัพย์ที่มีแทบทุกวัน 
4.อย่า ได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก 
5.อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆไปกันเอง
6.อย่า ได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ 
7.อย่า ได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต นั่นก็ไม่ต่างกับเห็นตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐ ติดลบกว่า 200 จุด แล้วจะไปเหมาเอาว่าตลาดหุ้นต้องร่วงตามกันไป 
8.อย่า ได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ใช่เลยกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก แม้แต่นักลงทุนขาใหญ่ไปจนถึงขาเล็ก หากมีความคิดในการลงทุนแบบนี้ ก็เตรียมปิดประตูทำกำไร หรือแม้แต่เสนอตัวได้เลย 
9.อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง นักลงทุนกล้าพอหรือไม่ที่จะเชื่อนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเงินในบ้านเรา 
10.อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้ นั่นหมายถึง บางครั้งบางครานักลงทุนก็ควรที่จะลองวิชาบรรดานักวิเคราะห์หุ้นกันบ้าง นานๆครั้งก็พอทำได้ เพื่อจะได้พิสูจน์ทั้งนักวิเคราะห์ และนักลงทุนว่าวิชาการ หรือประสบการณ์ในการลงทุน อย่างไหนกันแน่ที่ลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีกว่ากัน 
- See more at: http://home.truelife.com/detail/705000/guru#sthash.o2kirIH7.dpuf

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

ปัญหาของ KM นอกเหนือจาก ๖ ข้อ

         โดยส่วนตัวแล้วคิดว่า  แรงจูงใจในการริเริ่มดำเนินการจัดการความรู้ แรงจูงใจแท้ต่อการดำเนินการจัดการความรู้ คือ เป้าหมายที่งาน คน องค์กร และความเป็นชุมชนในที่ทำงานดังกล่าวแล้ว เป็นเงื่อนไขสำคัญ ในระดับที่เป็นหัวใจสู่ความสำเร็จในการจัดการความรู้ แรงจูงใจเทียมจะนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้แบบเทียม และไปสู่ความล้มเหลวของการจัดการความรู้ในที่สุด 
          แรงจูงใจเทียมต่อการดำเนินการจัดการความรู้ในสังคมไทย มีมากมายหลายแบบ ที่พบบ่อยที่สุด คือ ทำเพียงเพื่อให้ได้ชื่อว่าทำ ทำเพราะถูกบังคับตามข้อกำหนด ทำตามแฟชั่นแต่ไม่เข้าใจความหมาย และวิธีการดำเนินการ จัดการความรู้อย่างแท้จริง

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ KM

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การแสวงหาความรู้ การกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้สามารถดําเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการนําเทคโนโลยีมาใช่ในองค์กร อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสําเร็จของการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ดังที่  Walsham [2001] กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่คําตอบที่แก้ปัญหาการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สามารถอธิบายความรู้ที่เป็น Tacit knowledge ที่ต้องผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์และความเชื่อใจของบุคลากรได้
ดังนั้นความสําเร็จของการจัดการคามรู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและบุคลากร สิ่งที่สําคัญที่สุดในการพัฒนาระบบจัดการความรู้ขององค์กรคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความปรารถนาในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึงจะนําไปสู่การปรับตัวสู่รูปแบบองค์กรใหม่ที่เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นั่นเอง

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การจัดการความรู้ในมุงมองของข้าพเจ้า

โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าการจัดการความรู้ยังมีความหมายรวมถึง การรวบรวม การจัดระบบ การจัดเก็บ และการเข้าถึงข้อมูลเพื่อสร้างเป็นความรู้ ประโยชน์ต่างๆ  โดยมีเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ต่างๆ  
การจัดการความรู้คือการแบ่งปันความรู้หรือจะพูดอีกอย่างคือการแชร์ความรู้ของตนเองให้ผู้อื่น  ถ้าไม่มีการแบ่งปันความรู้ ความพยายามในการจัดการความรู้ก็จะไม่ประสบผลสำเร็จตามที่เราคาดหวังไว้  
โดยสรุปแล้ว การจัดการความรู้นั่นคือ  การจัดการที่มีกระบวนการและเป็นระบบตั้งแต่การเริ่มมีการประมวลผลข้อมูล  สารสนเทศ  ความคิด ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างความรู้  และมีการจัดเก็บในลักษณะที่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้สะดวก เช่น  บนอินเทอร์เน็ต  Facebook  เป็นต้น  เพื่อนำความรู้ต่างๆ ไปประยุกต์ใช้งานที่ทำ  ชีวิตประจำวัน  ให้มีการเกิดการถ่ายทอดความรู้ และมีการแพร่กระจายไป


วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สมเด็จพระเทพรัตนราชการสุดา ฯ กับ การจัดการความรู้

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม 


        สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยชีวิตความเป็นอยู่ในอนาคตของเด็กและเยาวชน  เมื่อเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาควรจะมีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า และช่วยกันรักษาวัฒนธรรมที่ดีงามเอาไว้ เพื่อการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความมั่นคง
            

การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



           “...สิ่งแวดล้อมเป็นคำที่มี ความหมายกว้างมาก คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเรา ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต มีความหมายทั้งในด้านที่เป็นรูปธรรม  เช่น ดิน นํ้า อากาศ สัตว์ พืช และเป็นนามธรรม เช่น สภาพความสัมพันธ์อันดี ความเป็นมิตร หรือเป็นสิ่งที่ไม่ดี ก็คือ การประหัตประหารกัน สิ่งแวดล้อม ทุกประเภท มีผลต่อการเกื้อกูลกัน...” 
       (จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่องประสบการณ์การพัฒนาชนบทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)


“..ต้องพยายามอนุรักษ์สมดุลธรรมชาติด้วยการดูแลรักษา มิให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้นไป...”
         (จากหนังสือ เสริมสร้างโภชนาการที่ดี : พื้นฐานของการพัฒนา ๓๐ ปี พระราชกรณียกิจการพัฒนา 
  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี) 
                                                                           
       สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่งและมีพระราชปณิธานที่จะเร่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คืนกลับสู่สภาพเดิมโดยเร็ว แนวทางพระราชดำริ คือ ให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้วยทรงเล็งเห็นว่าเด็กและเยาวชนเหล่านี้ จะเป็นแรงผลักดันสำคัญในอนาคตให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การรักษาและใช้ทรัพยากรของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นการรักษาสมบัติของตนเองไว้จึงมีพระราชดำริให้มีโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น โดยในขั้นแรกมุ่งปลูกฝังจิตสำนึกแก่เด็กและเยาวชนให้เห็นคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ เกิดความรัก หวงแหน ร่วมมือกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมด้วยตัวของเขาเอง ดังที่ทรงบรรยายในโอกาสต่างๆ ว่า  

        “...ในโรงเรียนที่ไปปฏิบัติการนั้นก็มีหลายคนที่ผู้ปกครอง หรือบิดา มารดา มีความจำเป็นต้องเผาป่าต้องทำลายสิ่งแวดล้อม จึงเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องคิดหาวิธีการที่จะช่วยกันอนุรักษ์ ฟื้นฟู และรักษาความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม...”                                                                                               

         “...สิ่งแวดล้อมนี้สำคัญ ถ้าเราทำลายสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดหรือแหล่งที่เราพบพืชพันธุ์ธรรมชาติเหล่านี้ ถ้าทำลายป่า ทำลายนํ้าหมดไป แล้วเราจะเอาอะไรกินกัน...”


           (จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายเรื่องประสบการณ์การพัฒนาชนบทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)                                                                                                                  


         เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๐ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จฯ ไปทรงเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ ๑๐๗ บ้านห้วยจะค่าน ตำบลปิ้งโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทรงพบว่าเพียงปีเดียว สภาพพื้นที่เปลี่ยนไป ป่าไม้ถูกทำลายลงไปมาก จึงมีรับสั่งให้ช่วยกันดูแลอนุรักษ์ป่าไม้ไม่ให้ถูกทำลาย และให้ดำเนินการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่เด็กและเยาวชนในโครงการฯ และเริ่มให้โรงเรียนปลูกสะเดาเพื่ออาศัยร่มเงา ยอดสะเดาใช้ประกอบอาหาร เมล็ดสะเดาใช้เป็นสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดในแปลงผัก การปลูกสะเดาจึงแพร่ขยายไปยังโรงเรียนอื่นๆ ด้วย

            “...ตั้งใจที่จะปลูกฝังให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพัฒนาลักษณะนิสัยในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ หลายอย่างเดินตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว...” 

(จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
 ทรงบรรยายเรื่องประสบการณ์การพัฒนาชนบทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)


         สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริที่จะสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่เด็กและเยาวชน ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่น มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพร้อมกันไปด้วย

 การส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


        สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ มีพระราชดำริให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจัดการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนของโครงการฯ เริ่มตั้งแต่การทำหลักสูตร การฝึกอบรมครูผู้สอน การจัดหาสื่อการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ รู้คุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เช่น ป่าไม้ถูกทำลาย พิษภัยของควันไฟ จากการเผาป่า การเรียนรู้ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลน เช่น ที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านนํ้าแดง จังหวัดจันทบุรี เรียนรู้ประโยชน์ของหญ้าแฝกในการช่วยอนุรักษ์ดินและนํ้า การอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุกรรมพืช เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้นยังทรงให้มีการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์สู่ประชาชนให้ตระหนักและมีจิตสำนึกร่วมกัน และช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในถิ่นของตน


           “...พยายามชี้แจงให้เห็นถึงข้อนี้ว่า ถ้าทำลายต้นไม้หรือว่าเผาเลย สิ่งที่ได้ไม่คุ้มกับสิ่งที่เสียไปพยายามให้นักเรียนศึกษาดูซิว่า สิ่งแวดล้อมเหล่านี้แต่ละชนิด ต้นไม้แต่ละอย่างมีคุณสมบัติอย่างไรใครเรียนรู้ ยิ่งเรียนรู้มาก ก็ยิ่งจะรักสิ่งเหล่านี้ เพราะเรื่องสำคัญที่จะต้องรักษาไว้ นี่เป็นสมบัติของตัวเราเอง เป็นสมบัติของชุมชนไม่ใช่ของคนอื่น...”


พระราชดำรัสวันอังคารที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๓ 

 (จากหนังสือ ประมวลพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ด้านการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร พุทธศักราช ๒๕๒๔-๒๕๕๓)


        “...การรักษาทรัพยากร คือ รักชาติ รักแผ่นดิน หมายถึง รักสิ่งที่เป็นของตัวเขา การให้เขารักษา
ประเทศชาติ หรือรักษาสมบัติของเขานั้น ทำได้โดยการสร้างความรัก ความเข้าใจ ให้รู้จักว่าสิ่งนั้นคือ
อะไร เขาจะรู้สึกชื่นชมและหวงแหนในสิ่งนั้นว่าเป็นของตน และทำให้เกิดประโยชน์...”


  “...โรงเรียนบางแห่งก็ตั้งอยู่ในถิ่นทุรกันดารแต่ยังมีพืชพรรณต่างๆ ขึ้นอยู่ที่คนอื่นๆ นอกพื้นที่
จะเข้าไปศึกษาได้ยาก ทั้งผู้เรียนและผู้ปกครองก็อาจมีความรู้นั้นมากกว่าคนอื่นๆ ผู้เรียนก็อาจจะเรียน
จากผู้ปกครองของนักเรียน เป็นเรื่องของภูมิประเทศท้องถิ่นว่าพืชชนิดนี้คืออะไร...” 

(จากเอกสารคู่มือการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)

        จากพระราชดำริฯ เด็กและเยาวชนตลอดจนประชาชนในท้องถิ่นได้ศึกษาเรียนรู้เห็นประโยชน์ และคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนผลกระทบจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฯ ตามพระราชปณิธาน
 

การส่งเสริมกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



        สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนทำกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชน และลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เช่น การพัฒนารักษาป่าชุมชน ป่าใกล้โรงเรียน ป่าพื้นที่ต้นนํ้า ป่าพื้นที่ชุ่มนํ้า และการปลูกป่า การทำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน การปลูกหญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและนํ้า การสร้างฝายชะลอนํ้า เป็นต้น สำหรับการปลูกป่าทรงอธิบายถึงการปลูกป่า ๓ อย่าง และประโยชน์ ๔ อย่าง  ตามแนวพระราชดำริของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ว่า

 


       “...การปลูกป่าจำเป็นต้องผสมผสานความต้องการในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้
ควบคู่ไปกับความต้องการด้านเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ทรัพยากรของชุมชน ป่า ๓ อย่าง ได้แก่
ป่าไม้ใช้สอย อาทิ ไม้ไผ่ ไม้โตเร็วอย่างสะเดา เป็นต้น ป่าไม้กินได้ ได้แก่ ไม้ผลและผักกินใบหรือกินหัว
ชนิดต่างๆ และป่าไม้เศรษฐกิจ คือ ไม้ที่ปลูกไว้ขายเนื้อไม้ เช่น ไม้สัก เป็นต้น ประโยชน์จากป่า ๔ อย่าง
คือ นอกจากจะเป็นไม้ไว้ใช้สอยแล้ว ยังเป็นอาหาร เป็นแหล่งรายได้ทางเศรษฐกิจ และยังช่วยอนุรักษ์ดิน
และนํ้าด้วย การใช้หญ้าแฝกอย่างที่กล่าวแล้วยังไม่พอต้องปลูกพืชธรรมชาติ ซึ่งมีรากที่จะยึดดินได้...”

(จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงบรรยายเรื่องประสบการณ์การพัฒนาชนบทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงอธิบายถึงกิจกรรมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนไว้ ดังนี้ 

       “...ปัจจุบันข้าพเจ้าจึงจัดให้มีโครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนทั้งในโรงเรียนประถมและ
มัธยม ให้เด็กนักเรียน ครู และผู้ปกครองไปสำรวจหาพืชพื้นเมืองมาปลูกในโรงเรียน ศึกษาตามหลัก
วิทยาศาสตร์ ทำหอพรรณไม้ในโรงเรียน ที่จริงเพื่อเน้นว่าพืชในท้องถิ่นมีอะไรรับประทานได้ พืชพวกนั้น
มีชื่อทางพฤกษศาสตร์อย่างไร และเอาไปวิเคราะห์ที่มหาวิทยาลัยมหิดลว่ามีคุณค่าทางโภชนาการอย่างไร...” 

(จากหนังสือ พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เกี่ยวกับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน)



        “...สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนที่กล่าวมาข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
เป็นโครงการที่ทำมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอนุรักษ์ต้นไม้ คือ ยางนา บางทีผ่านไป
ผ่านมาแต่ละปีมีคนตัดไปเรื่อย ก็ค่อนข้างจะหมดไป เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและเห็นความสำคัญของ
พืชว่า พืชในเมืองไทยมีพันธุกรรม ถ้าทำลายไปหมด พันธุกรรมพืชก็จะหายไปอย่างน่าเสียดาย 
บางทีจะทำอ่างเก็บนํ้า จะตัดถนนที่ต้องตัดต้นไม้ ก็ต้องพยายามเก็บพันธุกรรมพืชในรูปแบบต่างๆ 
พยายามเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้เพื่อที่จะไปปลูกที่อื่นได้หรือย้ายไป ต้องปกปักพันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าธรรมชาติ
รวบรวมพืชที่มีแนวโน้มว่าจะสูญพันธุ์มาเก็บไว้แล้วนำมาเพาะปลูกและรักษาในพื้นที่ที่เหมาะสมทางกายภาพ
และปลอดภัยจากการรุกรานรวมทั้งสอนการอนุรักษ์ การใช้ประโยชน์พืช ตั้งศูนย์พันธุกรรมพืช
วางแผนพันธุกรรมพืช สร้างจิตสำนึกในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชน...” 

(จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงบรรยายเรื่องประสบการณ์การพัฒนาชนบทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)


          จากการส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้ทำกิจกรรมอันเป็นประสบการณ์ตรงมีโอกาสสัมผัสใกล้ชิดกับสมบัติของตนเอง ก่อให้เกิดความรัก หวงแหน ความสามัคคี มีอุปนิสัยการอนุรักษ์ฯ ช่วยกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืนสืบไป


การส่งเสริมการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม



         ประชาชนส่วนใหญ่ในถิ่นทุรกันดาร มีอาชีพเกษตรกรรม มีการบุกรุกทำลายป่าเพื่อใช้พื้นที่ทำการเกษตร ทำให้ผิวดินถูกชะล้างพังทลาย ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี และต้องใช้สารเคมีอันตรายกำจัดศัตรูพืช ซึ่งกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ มีพระราชดำริที่จะลดปัญหาเหล่านี้ โดยเริ่มต้นให้เด็กและเยาวชนเรียนรู้วิธีการทำการเกษตรและกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องมิให้เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นที่โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันของโรงเรียนด้วยการใช้อินทรียวัตถุ ปรับปรุง บำรุงดิน ลดการใช้สารเคมีการเกษตร ใช้ตัวหํ้าตัวเบียนและเชื้อราที่ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ มาช่วยกำจัดศัตรูพืช ใช้ถุงสีเหลืองทากาวเหนียวดักแมลง ปลูกผักกางมุ้ง ใช้วัสดุธรรมชาติแทนสารเคมีสังเคราะห์ เช่น การใช้วัสดุธรรมชาติย้อมผ้า ใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรป้องกันและรักษาโรค การนำมูลสัตว์มาผลิตก๊าซชีวภาพเป็นพลังงานทดแทน ฯลฯ


          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงให้คำนึงถึงลักษณะธรรมชาติและวิธีการทำการเกษตร ในแต่ละท้องถิ่นที่แตกต่างกัน ซึ่งจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม ดังพระราชดำรัสบางตอนว่า


 “...รู้จักการปลูกพืชหมุนเวียน ไม่ใช่ว่าปลูกพืชอะไรปลูกซํ้าๆ
จะทำให้ดินจืด และก็ไม่สามารถที่จะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
บางทีถ้าดินจืดแล้วการใช้ปุ๋ยธรรมชาติ
ไม่ใช้สารเคมีเติมบางครั้งก็เป็นไปไม่ได้เลย...”


(จากหนังสือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ทรงบรรยายเรื่องประสบการณ์การพัฒนาชนบทที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม)

          จากการที่เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทำให้ประชาชนทั่วไปในท้องถิ่นสนใจหันมาทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น



ข้อมูลจาก หนังสือ สืบสานพระราชปณิธาน สามทศวรรษจรัสหล้า การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร