วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแสดงความคิดเห็นต่างๆ

1. ท่านคิดว่า Blog ในอนาคตสำหรับการจัดการความรู้ ควรจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเป็นรูปกราฟฟิก

          โดยส่วนใหญ่แล้ว Blog หลายๆที่มักจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และลึก เนื่องจากเจ้าของ Blog มักจะนำข้อมูลที่ตัวเองรู้ หรือประสบการณ์มาถ่ายทอด โดยค่อนข้างเป็นกันเอง
         การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ หรือการแชร์เป็นสิ่งที่ดีเพื่อที่ได้มีกระจายข้อมูลเหล่านั้นให้ผู้คนทั่วไปเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและมีการเผยแพร่ต่อไป แต่ใน  blogger ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้มีฟังก์ชั่นอะไรมากก็ต้องรอดูกันว่า ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงลูกเล่นหรือฟังก์ชั่นการใช้อย่างไรบ้าง



https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgHqvMu6dd7CrxVCtW3dKeMqIiSQwolD_pLri1P4_9RMfKMF0V4XtzzAxsGuSoem14Zhqf0BU_jnHSbjD2had-_e_PcsbmM3gXuAg_NKlWfC0pPrxIqs3opcCs8WWW2DTUN1EEqb8f0lms/s1600/100learn01.jpg



2. ท่านคิดว่า “การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ ใน KM มีความแตกต่างกันอย่างไร”


            การวิเคราะห์  (analysis)  หมายถึง  เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆเพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริงโดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้

         การสังเคราะห์ ( synthesis)  หมายถึง กระบวนการหรือผลของการนำเอาปัจจัยสองอย่างหรือมากกว่าที่แยกกันโดยเฉพาะความคิด นำมารวมกันเข้าเป็นหนึ่ง ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นเป็นความรู้ใหม่เครื่องมือใหม่ทางความคิด เช่น การรวมกันให้เป็นทฤษฎี หรือระบบการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เช่นไฮโดรเจนและออกซิเจน เป็นต้น


3. ท่านคิดว่า “นอกจาก เทคโนโลยี RSS ที่มาช่วยการสนับสนุนการจัดการความรู้แล้ว ในอนาคตควรจะมีอะไรเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น”

         เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี  และเทคโนโลยีบาร์โค้ด  จะเห็นว่า  ในระยะแรกการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้จะเป็นใสรูปแบบ  Dual Technology  กล่าวคือ  เป็นการนำสองเทคโนโลยีคือบาร์โค้ด  และอาร์เอฟไอดีมาใช้ควบคู่กัน ตามการศึกษาตารางด้านล่าง  จะเห็นว่า  ในช่วงแรกที่ทำการทดสอบ  และความคุ้มทุนยังคงใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีเพียงอย่างเดียว  แต่เมื่อนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาสู่ปฏิบัติจริง  จะเป็นการใช้สองเทคโนโลยี  แต่เมื่อเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีไปสู่การใช้จริง  ในช่วงแรกยังเป็นการใช้สองเทคโนโลยีควบคู่กันไป   จนเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีการพัฒนาในด้านต่าง  



4. ท่านคิดว่า “การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM จะสิ่งใดที่จะทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการดังกล่าว”

             หากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมีการจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน
             อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ความชำนาญแล้ว องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะไว้กับองค์กรอย่างมีระบบเพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น