กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ
ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา
ปิฏกสมฺปทาเนน)
5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา
อาการปริวิตกฺเกน)
8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
(มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้
(มา ภพฺพรูปตาย)
10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า
ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)
จาก 10 หลักกาลามสูตรในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า
เมื่อนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์บวกสติในการลงทุนทุกรูปแบบ
จะทำให้หลายคนเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังเช่นต่อไปนี้
1.อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท
"เขาว่า" "ได้ยินมาว่า"
ซีอีโอบริษัทนี้ชิงหายหุ้นไปเมื่อเมื่อวานนี้แล้ว
2.อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท
"ใครๆว่า" "โบราณว่า" หรือนักวิเคราะห์ว่ากันตามกระแส
3.อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่ากันว่า ประเภทข่าวลือ
ข่าวโคมลอย ทั้งหลายในห้องค้าหลักทรัพย์ที่มีแทบทุกวัน
4.อย่า ได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก
ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด
เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง
คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก
5.อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง
หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆไปกันเอง
6.อย่า ได้ยึดถือโดยการคาดคะเน
การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้
7.อย่า ได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้
น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น
เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น
เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น
เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต
นั่นก็ไม่ต่างกับเห็นตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐ ติดลบกว่า 200 จุด
แล้วจะไปเหมาเอาว่าตลาดหุ้นต้องร่วงตามกันไป
8.อย่า ได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ใช่เลยกับทิฐิของตัว
อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้
คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก แม้แต่นักลงทุนขาใหญ่ไปจนถึงขาเล็ก
หากมีความคิดในการลงทุนแบบนี้ ก็เตรียมปิดประตูทำกำไร หรือแม้แต่เสนอตัวได้เลย
9.อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้
ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
นักลงทุนกล้าพอหรือไม่ที่จะเชื่อนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์
นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเงินในบ้านเรา
10.อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา
การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ
ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้ นั่นหมายถึง
บางครั้งบางครานักลงทุนก็ควรที่จะลองวิชาบรรดานักวิเคราะห์หุ้นกันบ้าง
นานๆครั้งก็พอทำได้ เพื่อจะได้พิสูจน์ทั้งนักวิเคราะห์ และนักลงทุนว่าวิชาการ
หรือประสบการณ์ในการลงทุน อย่างไหนกันแน่ที่ลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีกว่ากัน
- See more at:
http://home.truelife.com/detail/705000/guru#sthash.o2kirIH7.dpuf
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น