วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การแสดงความคิดเห็นต่างๆ

1. ท่านคิดว่า Blog ในอนาคตสำหรับการจัดการความรู้ ควรจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเป็นรูปกราฟฟิก

          โดยส่วนใหญ่แล้ว Blog หลายๆที่มักจะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และลึก เนื่องจากเจ้าของ Blog มักจะนำข้อมูลที่ตัวเองรู้ หรือประสบการณ์มาถ่ายทอด โดยค่อนข้างเป็นกันเอง
         การเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ หรือการแชร์เป็นสิ่งที่ดีเพื่อที่ได้มีกระจายข้อมูลเหล่านั้นให้ผู้คนทั่วไปเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและมีการเผยแพร่ต่อไป แต่ใน  blogger ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้มีฟังก์ชั่นอะไรมากก็ต้องรอดูกันว่า ในอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงลูกเล่นหรือฟังก์ชั่นการใช้อย่างไรบ้าง



https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgHqvMu6dd7CrxVCtW3dKeMqIiSQwolD_pLri1P4_9RMfKMF0V4XtzzAxsGuSoem14Zhqf0BU_jnHSbjD2had-_e_PcsbmM3gXuAg_NKlWfC0pPrxIqs3opcCs8WWW2DTUN1EEqb8f0lms/s1600/100learn01.jpg



2. ท่านคิดว่า “การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ ใน KM มีความแตกต่างกันอย่างไร”


            การวิเคราะห์  (analysis)  หมายถึง  เป็นการแยกแยะสิ่งที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อยที่มีความสัมพันธ์กันเพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง รวมทั้งการสืบค้นความสัมพันธ์ของส่วนต่าง ๆเพื่อดูว่าส่วนประกอบปลีกย่อยนั้นสามารถเข้ากันได้หรือไม่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้เกิดความเข้าใจต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างแท้จริงโดยพื้นฐานแล้ว การวิเคราะห์ถือเป็นทักษะที่มนุษย์ฝึกได้

         การสังเคราะห์ ( synthesis)  หมายถึง กระบวนการหรือผลของการนำเอาปัจจัยสองอย่างหรือมากกว่าที่แยกกันโดยเฉพาะความคิด นำมารวมกันเข้าเป็นหนึ่ง ก่อให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นเป็นความรู้ใหม่เครื่องมือใหม่ทางความคิด เช่น การรวมกันให้เป็นทฤษฎี หรือระบบการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์เช่นไฮโดรเจนและออกซิเจน เป็นต้น


3. ท่านคิดว่า “นอกจาก เทคโนโลยี RSS ที่มาช่วยการสนับสนุนการจัดการความรู้แล้ว ในอนาคตควรจะมีอะไรเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น”

         เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี  และเทคโนโลยีบาร์โค้ด  จะเห็นว่า  ในระยะแรกการนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้จะเป็นใสรูปแบบ  Dual Technology  กล่าวคือ  เป็นการนำสองเทคโนโลยีคือบาร์โค้ด  และอาร์เอฟไอดีมาใช้ควบคู่กัน ตามการศึกษาตารางด้านล่าง  จะเห็นว่า  ในช่วงแรกที่ทำการทดสอบ  และความคุ้มทุนยังคงใช้เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีเพียงอย่างเดียว  แต่เมื่อนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาสู่ปฏิบัติจริง  จะเป็นการใช้สองเทคโนโลยี  แต่เมื่อเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีไปสู่การใช้จริง  ในช่วงแรกยังเป็นการใช้สองเทคโนโลยีควบคู่กันไป   จนเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมีการพัฒนาในด้านต่าง  



4. ท่านคิดว่า “การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM จะสิ่งใดที่จะทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการดังกล่าว”

             หากองค์กรจะพัฒนาตนเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ก็จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรให้เป็นระบบเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรเรียนรู้ได้จริงและต่อเนื่อง หากองค์กรใดมีการจัดการความรู้โดยไม่มีการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นภายในองค์กร ก็นับเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าได้เช่นกัน
             อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการความรู้ มีความซับซ้อนมากกว่าการพัฒนาบุคลากรด้วยการฝึกอบรม เพราะเป็นกระบวนการที่ต้องดำเนินการต่อภายหลังจากที่บุคลากรมีความรู้ความชำนาญแล้ว องค์กรจะทำอย่างไรให้บุคลากรเหล่านั้นยินดีถ่ายทอด และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้อื่น และในขั้นตอนสุดท้าย องค์กรจะต้องหาเทคนิคการจัดเก็บความรู้เฉพาะไว้กับองค์กรอย่างมีระบบเพื่อที่จะนำออกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

กาลามสูตร กับ การจัดการความรู้ (Knowledge Management) และการศึกษา ?

กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 หมายถึง วิธีปฎิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร
1.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา (มา อนุสฺสเวน)
2.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสีบๆกันมา (มา ปรมฺปราย)
3.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ (มา อิติกิราย)
4.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำรา หรือคัมภีร์ (มา ปิฏกสมฺปทาเนน)
5.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก (มา ตกฺกเหตุ)
6.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะอนุมาน (มา นยเหตุ)
7.อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล (มา อาการปริวิตกฺเกน)
8.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว (มา ทิฏฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา)
9.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ (มา ภพฺพรูปตาย)
10.อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา (มา สมโณ โน ครูติ)

จาก 10 หลักกาลามสูตรในทางคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อนำมาปรับใช้กับกลยุทธ์บวกสติในการลงทุนทุกรูปแบบ จะทำให้หลายคนเข้าใจได้ง่ายขึ้น ดังเช่นต่อไปนี้ 

1.อย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำที่ได้ยินได้ฟังมา ประเภท "เขาว่า" "ได้ยินมาว่า" ซีอีโอบริษัทนี้ชิงหายหุ้นไปเมื่อเมื่อวานนี้แล้ว 
2.อย่าได้ยึดถือถ้อยคำสืบๆกันมา ประเภท "ใครๆว่า" "โบราณว่า" หรือนักวิเคราะห์ว่ากันตามกระแส 
3.อย่าได้ยึดถือโดยความตื่นข่าวว่ากันว่า ประเภทข่าวลือ ข่าวโคมลอย ทั้งหลายในห้องค้าหลักทรัพย์ที่มีแทบทุกวัน 
4.อย่า ได้ยึดถือโดยอ้างตำรา อย่าไปตามตำรามากนัก ตำราว่าอย่างนั้น ต้องออกมาเป็นอย่างนั้น เท่านั้น เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้เด็ดขาด เพราะอย่าลืมว่า ตำราบางเล่ม คนแต่งก็มั่วมาบ้าง เขียนไม่ครบบ้าง ใส่ไข่เอาเองบ้าง คนมีกิเลสไปแก้ไขตำรา คนมีผลประโยขน์ ไม่แก้ไขตำราเท่ากับเราโดนหลอก 
5.อย่าได้ยึดถือโดยนึกเดาเอาเอง เช่น เข้าใจเอาเอง หรือข้อมูลไม่พอ ใจร้อนเดาสุ่มเอา มั่วๆไปกันเอง
6.อย่า ได้ยึดถือโดยการคาดคะเน การคาดการณ์ตามประวัติศาสตร์ ตามสถิติ ความน่าจะเป็น ซึ่งอาจจะผิดก็ได้ 
7.อย่า ได้ยึดถือตรึงตามอาการ อย่าเห็นว่าอาการแบบนี้ น่าจะเป็นแบบนี้ ให้คิดเผื่อๆไว้ด้วย เช่น เห็นคนไข้เป็นแบบที่เคยรักษาคนอื่นๆมาก่อน อย่าไปตรึกเอาเองว่าเป็นแบบนั้น เห็นเงาก็จ่ายยาได้ เพราะเหนือฟ้ายังมีฟ้า อย่าเข้าข้างตนเอง นั่งสมาธิเห็นโน่น เห็นนี้ อย่านึกว่าเป็นจริง เพราะอาจจะเป็นจิตหลอกจิต นั่นก็ไม่ต่างกับเห็นตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐ ติดลบกว่า 200 จุด แล้วจะไปเหมาเอาว่าตลาดหุ้นต้องร่วงตามกันไป 
8.อย่า ได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ใช่เลยกับทิฐิของตัว อย่าเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อะไรที่ตรงกับที่ตนคิดไว้เท่านั้นที่เชื่อได้ คนคิดแบบนี้ ดื้อตายชัก แม้แต่นักลงทุนขาใหญ่ไปจนถึงขาเล็ก หากมีความคิดในการลงทุนแบบนี้ ก็เตรียมปิดประตูทำกำไร หรือแม้แต่เสนอตัวได้เลย 
9.อย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้ ระวังจะโดนหลอก อย่าลืมว่า สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง นักลงทุนกล้าพอหรือไม่ที่จะเชื่อนักวิเคราะห์ นักกลยุทธ์ นักวิชาการเศรษฐศาสตร์การเงินในบ้านเรา 
10.อย่าได้ยึดถือโดยความนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา การยึดอาจารย์ของตนเองมากไป ก็ไม่ดี ควรทำตาม ทดสอบดู ถ้าผิดพลาดก็ไม่ต้องเชื่อ ถ้าทำแล้วดีขึ้นก็แสดงว่าเชื่อได้ นั่นหมายถึง บางครั้งบางครานักลงทุนก็ควรที่จะลองวิชาบรรดานักวิเคราะห์หุ้นกันบ้าง นานๆครั้งก็พอทำได้ เพื่อจะได้พิสูจน์ทั้งนักวิเคราะห์ และนักลงทุนว่าวิชาการ หรือประสบการณ์ในการลงทุน อย่างไหนกันแน่ที่ลดความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีกว่ากัน 
- See more at: http://home.truelife.com/detail/705000/guru#sthash.o2kirIH7.dpuf